สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอัสตานา ดำเนินโครงการสำรวจทรัพยากรและแร่ธาตุที่สำคัญในคาซัคสถานและทาจิกิสถาน สำหรับใช้ในการผลิตเทคโนโลยีสีเขียว เพื่อสนับสนุนนโยบาย BCG ของไทย

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอัสตานา ดำเนินโครงการสำรวจทรัพยากรและแร่ธาตุที่สำคัญในคาซัคสถานและทาจิกิสถาน สำหรับใช้ในการผลิตเทคโนโลยีสีเขียว เพื่อสนับสนุนนโยบาย BCG ของไทย

วันที่นำเข้าข้อมูล 20 ก.ย. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 20 ก.ย. 2566

| 637 view

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอัสตานา ดำเนินโครงการสำรวจทรัพยากรและแร่ธาตุที่สำคัญในคาซัคสถานและทาจิกิสถาน สำหรับใช้ในการผลิตเทคโนโลยีสีเขียว เพื่อสนับสนุนนโยบาย BCG ของไทย

ระหว่างวันที่ 10 - 16 กันยายน 2566 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอัสตานา ได้ดำเนินโครงการสำรวจทรัพยากรและแร่ธาตุที่สำคัญในคาซัคสถานและทาจิกิสถาน สำหรับใช้ในการผลิตเทคโนโลยีสีเขียว เพื่อสนับสนุนนโยบาย BCG ของไทย โดยมีผู้แทนจาก 8 หน่วยงานของไทยเข้าร่วม ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

ในห้วงการดำเนินโครงการฯ ที่กรุงอัสตานาและเมืองอัลมาตีของคาซัคสถาน ระหว่างวันที่ 10 - 13 กันยายน 2566 คณะผู้แทนไทยได้พบหารือกับหน่วยงานด้านทรัพยากรและแร่ธาตุและด้านเศรษฐสัมพันธ์กับต่างประเทศของคาซัคสถาน อาทิ Ministry of Energy, Committee of Geology of the Ministry of Industry and Infrastructure, National Chamber of Entrepreneurs “Atameken”, International Chamber of Commerce of Kazakhstan, National Company Kazakh Invest JSC, QazTrade Center for Trade Policy Development Centre JSC, Export Insurance Company KazakhExport JSC และร่วมกิจกรรม business matching กับภาคเอกชนของคาซัคสถานในด้านทรัพยากรและแร่ธาตุ เครื่องประดับ และพลังงาน ได้แก่ บริษัท ArcelorMittal Temirtau บริษัท Tau-Ken Samruk บริษัท Samruk-Energy บริษัท Kazakhmys Corporation บริษัท Sary-Arka Copper Processing บริษัท Kazakhmys บริษัท Altynalmas และสมาคมผู้ค้าเครื่องประดับแห่งคาซัคสถาน ตลอดจนพบหารือกับผู้บริหาร KazMunaiGas (KMG) และนักวิจัยจาก Department of Alternative Energy of KMG Engineering เพื่อหารือความเป็นไปได้ในการร่วมมือในด้านพลังงาน hydrogen ระหว่างไทยกับคาซัคสถาน

ในการเยือนกรุงดูชานเบ ทาจิกิสถาน ระหว่างวันที่ 13 - 16 กันยายน 2566 คณะผู้แทนไทยได้พบหารือกับหน่วยงานภาครัฐด้านทรัพยากรและแร่ธาตุของทาจิกิสถานและด้านการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างทาจิกสถานกับต่างประเทศ ได้แก่ State Committee on Investments and State Property Management, Ministry of Industry and New Technologies, Ministry of Economic Development and Trade และ Chamber of Commerce and Industry และพบหารือกับภาคเอกชนด้านทรัพยากรและแร่ธาตุ การท่องเที่ยว และการเกษตรของทาจิกิสถาน ตลอดจนศึกษาดูงานที่โรงงานของบริษัท Zirkon ซึ่งดำเนินงานด้านการแปรรูปหินภูเขาที่ใหญ่ที่สุดของทาจิกิสถาน และเขื่อน Nurek ซึ่งมีขนาดความสูงที่ 304 เมตร เป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ขนาดประมาณ 3,000 เมกะวัตต์

การดำเนินโครงการฯ นับว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง โดยฝ่ายไทยรับทราบข้อมูลและลู่ทางความร่วมมือด้านทรัพยากรและแร่ธาตุระหว่างไทยกับคาซัคสถานและระหว่างไทยกับทาจิกิสถาน ที่จะสนับสนุนการผลิตเทคโนโลยีพลังงานสีเขียว อันสอดคล้องกับนโยบาย BCG ของไทย ตลอดจนรับทราบโอกาสสำหรับการส่งเสริมความร่วมมือในสาขาอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ โดยโครงการฯ ช่วยสนับสนุนการสร้างเครือข่ายและช่องทางการค้าและการลงทุนที่สำคัญระหว่างภาคเอกชนของไทยกับคาซัคสถานและทาจิกิสถาน อันจะนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับคาซัคสถานและทาจิกิสถานในภาพรวม

319538_0 322966_0   322965_0   319556_0   319554_0   319543_0   319539_0   322969_0   322967_0   321219_0   321231_0   321229_0   321227_0   321220_0   321236_0   321235_0   321234_0   321232_0   321230_0   321228_0   322982_0   322980_0   322981_0